ทรฟื

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

สวนกล้วยไม้แห่ขอรับรองGAP กษ.สานฝันโกยส่งออกหมื่นล้าน

นาย ธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตกล้วยไม้คุณภาพ เพื่อการส่งออก จึงมอบหมายสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จัดทำระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับ กล้วยไม้ เพื่อรับรองแปลงเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแผนการควบคุมการผลิตกล้วยไม้ ให้ผลิตกล้วยไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่น่าพอใจของคู่ค้าและผู้ บริโภค

ขณะเดียวกันสามารถผลิตกล้วยไม้ที่ตรงตามพันธุ์ มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนดและปลอดศัตรูพืช โดยผู้ที่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระบบGAPแล้ว กรมวิชาการเกษตรจะมอบเครื่องหมายสัญลักษณ์Q ให้ ซึ่งคาดว่า ภายใน 3-4 ปี ไทยจะสามารถส่งออกกล้วยไม้นำรายได้เข้าประเทศได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท

นาง สาวเมทนี สุคนธรักษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวน ได้เชิญชวนผู้ประกอบการและเกษตรกรที่มีโรงเรือนกล้วยไม้เข้ามาขอจดทะเบียนGAP ซึ่งล่าสุดมีเกษตรกรขอจดทะเบียนแล้วกว่า 100 ราย และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา

ด้าน นายสุชาติ วิจิตรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชสวน กล่าวเสริมว่า สถาบันวิจัยพืชสวนได้เร่งการศึกษาและวิจัยแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการขนส่ง เพื่อให้สะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งเพื่อผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรยังได้พัฒนากล้วยไม้พื้นถิ่นที่มีศักยภาพทางการค้ากล้วยไม้ ต้นที่สำคัญ อาทิ สกุลรองเท้านารี สกุลซิมบิเดีย สกุลสปาโทกลอททิส และสกุลฮาบินาเรีย จนสามารถเปิดตลาดกล้วยไม้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 12 กันยายน 2551

http://www.naewna.com/news.asp?ID=122741

ป้ายกำกับ: , ,

นักวิชาการแนะผู้ผลิตกล้วยไม้ เร่งจดสิทธิบัตรทั้งใน-ต่างปท. ชิงโอกาสครองตลาดส่งออก

รศ.ดร.ธัญ ญะ เตชะศีลพิทักษ์ อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า กล้วยไม้ไทยถือว่าเป็นไม้ดอกไม้ประดับเขตร้อน ที่ส่งออกในตลาดต่างประเทศสูงที่สุดในขณะนี้ และถือว่ายังไม่มีประเทศใดสามารถแข่งขันได้ ส่งออกได้ปีละกว่า 3,000 ล้านบาท แต่ยังพบปัญหาที่ผู้ค้าบางรายไม่ทราบถึงการจดสิทธิบัตรกล้วยไม้ ทำให้เป็นช่องทางให้ต่างประเทศขโมยการจดสิทธิบัตร

ทั้ง นี้ ต้องการให้ผู้ผลิตกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ๆ นอกจากจดสิทธิบัตรในประเทศไทย ต้องจดสิทธิบัตรในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลัก อย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เพื่อให้รับการคุ้มครองทั้งในและต่างประเทศ เป็นเวลาไม่เกิน 20 ปี ทั้งนี้ เบื้องต้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ต้องทดสอบความต้องการของตลาดด้วยว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้กลายเป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่ล้าหลัง

นอกจากนี้ ไม้ดอกไม้ประดับที่ส่งออกได้อันดับ 2 รองจากกล้วยไม้ ปีละ 30-40 ล้านบาท คือ ปทุมมา ซึ่งขณะนี้ได้มีการปรับปรุงปทุมมาพันธุ์เตี้ย ให้สามารถปลูกได้จากต้นกล้าแทนปลูกจากหัวพันธุ์ ออกดอกได้เร็วภายใน 3 เดือน มีลักษณะลำต้นเตี้ยลง 20 เซนติเมตร มีสีชมพู สีขาว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบ คาดว่าจะสำเร็จภายใน 3-4 ปีนี้ พร้อมจดสิทธิบัตรและจำหน่ายออกสู่ตลาดได้

ด้าน นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ไทยมีปริมาณการส่งออกกล้วยไม้เมืองร้อนตระกูลหวายมากที่สุดในโลก เกษตรกรและผู้ส่งออกกล้วยไม้ต้องเร่งพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย รวมทั้งควบคุมคุณภาพ สินค้าเพื่อสร้างความเชื่อถือแก่ผู้ซื้อทั่วโลก สำหรับตลาดใหม่ที่น่าสนใจคือ เกาหลี และ จีน โดยเฉพาะจีนถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุดเพราะมีประชากรจำนวนมาก ผู้ส่งออกไทย ควรเริ่มจากการเปิดตลาดสินค้าคุณภาพระดับล่างก่อนเพราะจีนสนใจสั่งซื้อ สินค้าจำนวนมากแต่ราคาไม่แพง

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 24 กันยายน 2551

http://www.naewna.com/news.asp?ID=124600

ป้ายกำกับ: , ,

กล้วยไม้ปลอดโรคใบด่าง ใช้เซรุ่มช่วยช่วงเพาะเนื้อเยื่อ

โรคใบด่างในกล้วยไม้สกุลหวาย เกิดจากเชื้อไวรัส cymbidium mosaic virus (CyMV) ทั่วไปมักพบใบแสดงอาการด่าง มีแผลไหม้ อาการจุดช้ำน้ำ หรือจุดด่างสีเหลือง


ลักษณะ ยอดบิด ลำต้นแคระแกร็น ดอกมีขนาดเล็ก ไม่สมบูรณ์ กลีบดอกบิดเบี้ยว สีซีดด่าง ช่อดอกสั้น คุณภาพไม่ได้มาตรฐานการส่งออกและผลผลิตลดลง

ต้น กล้วยไม้ที่เป็นโรคหากยังไม่แสดงอาการ เมื่อดูด้วยตาเปล่าไม่แตกต่างจากต้นปกติ จึงแยกต้นที่เป็นโรคกับ ต้นปกติได้ไม่ชัดเจน การขยายพันธุ์อาจ จะเกิดโรคติดต่อ... กลายเป็นอุปสรรคกับวงการไม้ตัดดอกเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ...!!

ทีมงานวิจัยจากภาค วิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย อาจารย์ ศิริวรรณ บุรีคำ อาจารย์ รัชนี ฮงประยูร อาจารย์ รงรอง หอมหวล อาจารย์ มณฑา วงศ์มณีโรจน์ อาจารย์ สุวรรณา กลัดพันธุ์ และ ผศ.จิตราพรรณ พิลึก ได้ดำเนินโครงการ ผลิตต้นพันธุ์ กล้วยไม้สกุลหวายให้ปลอดโรคใบด่างจากเชื้อ CyMV โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการพัฒนาเทคนิคการตรวจโรคด้วยวิธีทางเซรุ่มวิทยา

ผศ.จิตราพรรณ พิลึก บอกว่า คณะผู้วิจัยได้ศึกษาหาวิธีการผลิตต้นพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium spp.) ให้ปลอดจากเชื้อไวรัส CyMV โดยการเพาะเนื้อเยื่อเจริญ รวมทั้งการพัฒนาเทคนิคในการตรวจสอบเชื้อไวรัส ที่มี ประสิทธิภาพควบคู่กันไปด้วย จากผลการทดลองนำเนื้อเยื่อเจริญที่มีขนาดประมาณ 0.2-0.3 มิลลิเมตร จากส่วนปลายยอดของหน่ออ่อนจากต้นกล้วยไม้สกุลหวาย สายพันธุ์โซเนีย(บอม17) มาเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ

ผลปรากฏว่า... สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เนื้อเยื่อเจริญของกล้วยไม้ สามารถพัฒนาเป็น โปรโตคอร์ม ได้ดีนั้น ได้แก่สูตร VW (Vacin&Went, 1949) และสูตร VW ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.1-1.0 มิลลิเมตรต่อลิตร โดยเนื้อเยื่อเจริญจะพัฒนาเป็น โปรโตคอร์ม ขนาดประมาณ 0.3-0.8 เซนติเมตร ได้ภายใน 6 สัปดาห์ อัตราร้อยละ 20 ของเนื้อเยื่อทั้งหมดและสามารถพัฒนาเป็นลำต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ดอกต่อไปได้ภายใน 3 เดือน

เมื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจเชื้อไวรัสด้วยวิธี indirect ELISA (enzyme-linked immunosorbent assay) โดยใช้ โมโคลนอลแอนติบอดี ที่ผลิตได้ พบว่า โมโนโคลน ที่ผลิตจาก ทั้ง 2 โคลน สามารถทำปฏิกิริยาอย่างดีกับเชื้อไวรัส CyMV บริสุทธิ์ และ CyMV-CP กับน้ำคั้นจากใบกล้วยไม้หวายที่เป็นโรค โดยไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อไวรัส ORSV-CP และพืชปกติ

นอกจากนี้ โมโนโคลนอลแอนติบอดี ที่ผลิตได้ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจเชื้อไวรัสได้ดีกว่า โพลีโคลนอลแอนติบอดี อีกด้วย และสามารถตรวจคัดเลือกต้นพันธุ์กล้วยไม้ที่ปลอดเชื้อได้ในอัตราร้อยละ19.4 ของจำนวน เนื้อเยื่อเจริญที่นำมาเพาะเลี้ยงทั้งหมด

และเมื่อนำมาเพิ่มปริมาณและชักนำให้เกิดต้น ก็สามารถผลิตต้นพันธุ์กล้วยไม้ที่ไม่มีเชื้อไวรัสได้ภายในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น เป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล

งานวิจัยนี้ถือว่าเสร็จออกมาได้ทันท่วงที ก่อนมีการปิดฉาก...อวสานกล้วยไม้ไทย..!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 กันยายน 2551

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=105800

ป้ายกำกับ: , ,

"ทับทิมสยาม06"บ้านปรือใหญ่ แหล่งรวมพันธุ์ไม้ดอกถิ่นอีสาน

ใคร จะไปนึกว่าพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ใน ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีะเกษนั้น ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันแห้งแล้งและทุรกันดารมากที่สุดแห่งหนึ่งในภาค อีสาน

แต่ทว่าปัจจุบันกลายเป็นทำเลทองของการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามที่สุดของประเทศไปแล้ว


ทั้ง นี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อครั้งได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านนาจะเรีย ซึ่งตั้งอยู่ริมชายแดนไทย-กัมพูชา ในท้องที่ ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ แห่งนี้ อันเป็นพื้นที่ที่ทางราชการได้จัดสรรให้แก่ราษฎรอยู่อาศัย กลุ่ม คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้เคลื่อนย้ายออกมาจากพื้นที่อยู่อาศัยเดิมที่อยู่ในเขต พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จากนั้นพระองค์ได้ทรงมีพระดำริให้มีการฟื้นฟูและพัฒนาสภาพแวดล้อม ด้วยการปลูกป่าให้เต็มพื้นที่ พร้อมกันนี้ก็ได้จัดตั้งเป็น "โครงการทับทิมสยาม 06" โดย มีปรมาจารย์ด้านกล้วยไม้ "ศ.ดร.ระพี สาคริก" คอยให้คำปรึกษาแนะนำ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อม และสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับราษฎรตามแนวชายแดน เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ

"โครงการ นี้มี ศ.ดร.ระพี สาคริก เป็นผู้ให้คำแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ โดยใช้ข้อมูลจากโครงการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ที่กะลูบี จ.นราธิวาส" เอนก บางข่า ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร เผย

เอนกกล่าว ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน จ.ศรีสะเกษ โดยระบุว่ามักจะพบปัญหาเรื่องพื้นที่ดินมีสภาพแห้งแล้งและดินเป็นหินดาน ในช่วงแรกที่กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยฯ เข้ามาสนับสนุนในด้านการปลูกไม้ผลแก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งก็สามารถทำได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากไม้ผลไม่สามารถเติบโตได้ดีในดินดานซึ่งขาดความอุดมสมบูรณ์ จากนั้นศูนย์จึงได้สนับสนุนให้มีการศึกษาและวิจัยในการนำกล้วยไม้มาปลูก โดยทำในลักษณะของโรงเพาะชำ ซึ่งกล้วยไม้ไม่จำเป็นต้องใช้ดินในการปลูกทั้งแปลง ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่

นอก จากนี้ ศูนย์วิจัยฯ ได้ทำการศึกษาและทดสอบพันธุ์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ โดยเปรียบเทียบพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย หวายแคระ ม็อกคาร่า สปาโตก็อตติส อิพิเดรนรัม แวนด้าใบกลม แมลงปอ ออนซิเดียม ซึ่งนอกจากกล้วยไม้การค้าแล้ว ยังมีการพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้แดงอุบล ม้าวิ่ง และกล้วยไม้สกุลอื่นๆ พร้อมกันนี้โครงการดังกล่าวยังทำการทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อปลูกเชิงการค้า ในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ และบริเวณใกล้เคียง เช่น ฟิโรเดนดรอน เฟิร์น พืชตระกูลปาล์ม ปทุมมา เป็นต้น

"ในพื้นที่โครงการจะมีการรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่า และไม้ดอกไม้ประดับท้องถิ่น และพันธุ์ไม้ชื่อพระนาม โดยเฉพาะกล้วยไม้ในสกุล ม้าวิ่ง Doritis spp และกล้วยไม้ดิน รวมได้ทั้งสิ้นกว่า 60 สกุล 90 ชนิด ไม้ดอกไม้ประดับพื้นเมือง 10 ชนิด และพืชสมุนไพรอีก 70 ชนิดสายพันธุ์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดศรีสะเกษเผย เอนกกล่าวด้วยว่าสำหรับโครงการทับทิมสยาม 06 พร้อมที่จะเปิดเป็นแหล่งศึกษา ฝึกอบรม และศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ และให้บริการด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและดูงาน ด้านการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับที่เหมาะสมในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ และยังจัดทำแปลงปลูกแม่พันธุ์ไม้ผล โดยขณะนี้มีแม่พันธุ์ไม้ผลจำนวน 13 ชนิด 21 พันธุ์ในพื้นที่ 8 ไร่ เพื่อทำการขยายพันธุ์แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่สนใจ สนใจศึกษาดูงานหรือซื้อพันธุ์ไม้ติดต่อได้ที่โครงการศูนย์ศึกษาและถ่ายทอด เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ หมู่บ้านทับทิมสยาม 06 บ้านนาจะเรีย ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ หรือติดต่อผ่านศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โทร.0-4561-2402 ในเวลาราชการ

สุรัตน์ อัตตะ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม 2551

http://www.komchadluek.net/2008/10/03/x_agi_b001_223902.php?news_id=223902

ป้ายกำกับ: , ,

เจาะแผนส่งออก"กล้วยไม้ไทย" วาดฝันปีครองแชมป์ตลาดโลก

ท่าม กลางภาวะราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำแต่สำหรับกล้วยไม้ พืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของไทยกลับไม่มีปัญหา เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศนั้น กล้วยไม้ไทยได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าอยู่ในระดับต้นๆ


ส่ง ผลให้ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่มี มูลค่าการส่งออกนับพันล้านบาทในแต่ละปีด้วยเหตุนี้เองทำให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญได้ดำเนินงานโครงการผลักดันการส่งออกกล้วยไม้ ในปี2551 และคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าหรือปี 2555 ประเทศไทยจะสามารถส่งออกกล้วยไม้ได้มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันจะยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตกล้วยไม้เขตร้อนของ โลกและให้กล้วยไม้ไทยเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยว

"ในปี 2551 คาดว่าพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 21,757 ไร่ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกดอกกล้วยไม้และต้นกล้วยไม้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เอื้อ เช่น จีนซึ่งเป็นตลาดกล้วยไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย หรือประเทศที่เป็นตลาดใหม่ อย่างอินเดีย และ ประเทศในยุโรปตะวันตกก็เริ่มมีความต้องการกล้วยไม้มากขึ้นตามลำดับ" สมชายชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพูดถึงสถานการณ์ตลาดกล้วยไม้ไทยในต่างแดน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตกล้วยไม้ให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก จึงได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยพืชสวนจัดทำระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับ กล้วยไม้เพื่อรับรองแปลงเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแผนการควบคุมการผลิตกล้วยไม้ ให้ผลิตกล้วยไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่น่าพอใจของคู่ค้าและผู้ บริโภค ขณะเดียวกันสามารถผลิตกล้วยไม้ที่ตรงตามพันธุ์ มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนดและปลอดศัตรูพืช โดยผู้ที่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระบบ GAP แล้ว กรมวิชาการเกษตรจะมอบเครื่องหมายสัญลักษณ์ Q ให้

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่มีค่าสามารถทำรายได้จากการส่งออกไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และสามารถส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก ในอนาคตคาดว่าอีกประมาณ 3-4 ปี จะสามารถทำรายได้ถึง 1 หมื่นล้านบาท โดยส่งออกในรูปแบบของไม้ตัดดอกไม้ต้น ไม้ขวด ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากดอกกล้วยไม้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเผย

ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวนได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการและเกษตรกรที่มีโรงเรือนกล้วยไม้ให้เข้ามาขอจดทะเบียนGAP ล่าสุดมีเกษตรกรให้ความสนใจยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้วกว่า100 ราย และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสอดรับกับมุมมอง สุชาติวิจิตรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชสวนยอมรับว่า สถาบันวิจัยพืชสวนในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานนโยบายกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องซึ่งขณะนี้ได้เร่งดำเนินการศึกษาและวิจัยแก้ไขปัญหาที่เป็น อุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการขนส่ง เพื่อให้สะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งเพื่อผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้พัฒนากล้วยไม้พื้นถิ่นที่มีศักยภาพทางการค้ากล้วยไม้ต้นที่สำคัญ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลซิมบิเดีย สกุลสปาโทกลอททิส และสกุลฮาบินาเรีย จนสามารถเปิดตลาดกล้วยไม้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ส่วนผู้ประกอบธุรกิจส่งออกกล้วยไม้"พันธพัฒน์คุ้มวิเชียร" ในฐานะผู้จัดการสวนกล้วยไม้แอร์ออคิด& แลบ มองว่าปัญหาการส่งออกกล้วยไม้ไทยขณะนี้ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ ไม่ดี ทำให้การส่งออกกล้วยไม้มีปัญหาตามไปด้วย โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ำมันที่เป็นตัวแปรหลักในการส่งออก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลประกันราคากล้วยไม้และเร่งทำโรดโชว์ในต่าง ประเทศบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยในการขยายตลาดเพิ่มขึ้น จะได้ไม่จำกัดอยู่แค่ตลาดอเมริกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่นและยุโรปไม่กี่ประเทศ

"ปัจจัย อีกตัวที่ธุรกิจส่งออกกล้วยไม้บ้านเรามีปัญหา เพราะการรวมตัวของผู้ปลูกกล้วยไม้ไทยยังไม่เข้มแข็งพอ ดำเนินกิจการในลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้อำนาจการต่อรองมีน้อย ขณะเดียวกันภาครัฐก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญสักเท่าไรเมื่อเทียบกับพืช เศรษฐกิจตัวอื่น" ผู้จัดการสวนกล้วยไม้แอร์ออคิด & แลบ กล่าวย้ำกล้วยไม้นับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวของประเทศที่ควรได้รับการส่งเสริม ภาครัฐอย่างจริงจัง เพราะเป็นพืชตัวเดียวในขณะนี้ก็ว่าได้ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องราคา แต่กลับไม่มีตลาดรองรับอย่างเพียงพอ

แนะวิธีดูแลกล้วยไม้ปลอดโรค

ชมพูนุท จรรยาเพศ นักสัตววิทยา8 สำนักวิจัยพัฒนาอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรแนะนำเกษตรกรควรให้ความสนใจและดูแลสวนกล้วยไม้ให้ปลอดจาก เชื้อรา แบคทีเรีย และหอยทาก โดยระบุว่าเนื่องจากสวนกล้วยไม้ส่วนใหญ่มีความชื้นสูง มักพบหอยทากบกเข้าทำลายตาและหน่อดอกหรือใบ ถึงแม้ว่าความเสียหายจะไม่มากนัก แต่ถ้าไม่มีการจัดการใดๆ ประชากรหอยจะเพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้หอยยังปล่อยเมือกไว้เป็นแนวตามทางเดินอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อ ราซ้ำได้ และประการสำคัญคือการที่หอยปะปนไปกับกล้วยไม้ที่ส่งไปต่างประเทศ เป็นสาเหตุให้ถูกเผาทำลาย นอกเหนือจากการต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลแล้ว ยังทำให้ไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง

"จะ เห็นได้ว่าหอยทากเป็นศัตรูของกล้วยไม้อีกประเภทหนึ่งที่เกษตรกรจะต้องกำจัด ให้สิ้นซาก หากเกษตรกรไม่ให้ความสนใจดูแลก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกล้วยไม้ของไทย และจะเป็นผลเสียต่อชื่อเสียงของไทยในอนาคตด้วย ซึ่งเท่าที่ผ่านมาประเทศคู่ค้ามักพบหอยทากติดไปกับกล้วยไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย และถูกขึ้นบัญชีดำ ทำให้การส่งออกกล้วยไม้ไทยได้รับผลกระทบตามมาอีกด้วย" เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าวทิ้งท้าย

สุรัตน์ อัตตะ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก วันที่ 27 ตุลาคม 2551

http://www.komchadluek.net/2008/10/27/x_agi_b001_227538.php?news_id=227538

ป้ายกำกับ: , , ,

จุลินทรีย์ปราบรากล้วยไม้ "สกุลช้าง" ที่ภูเก็ต





ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับกล้วยไม้กันก่อน กล้วยไม้เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีมากกว่า 800 สกุล และ 25,000 สปีชีส์ กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledoneae) อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่ 1) กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น 2) กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรียวัตถุ


นอก จากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ ที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น กล้วยไม้สกุลช้าง (Rhynchostylis spp.) ซึ่งสามารถจำแนกได้ 4 ชนิด 1) ช้าง (ช้างเผือก ,ช้างแดง ,ช้างกระ ,ช้างพลาย ,ช้างประหลาด ,ช้างการ์ตูน ) 2) เขาแกะ 3)ไอยเรศ หรือ งวงช้าง 4) Rhy. rosae พบทางประเทศมาเลเซีย ส่วนคนไทยจะอาจเรียกว่า (ไอยเรศมาเลย์) จุดเด่นของกล้วยไม้กลุ่มนี้คือให้ดอกเป็นช่อพวงยาวระย้าและมีกลิ่นหอมอ่อน อายุดอกนานประมาณ 1 เดือนก่อนเหี่ยวเฉา และร่วงหรือติดผล (บางชนิดพันธุ์ เช่น ไอยเรศ หรืองวงช้าง)

ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงทำให้ คุณพัชรินทร์ โกยเกียรติกุล ( 087- 4187412 ) ได้ตัดสินใจนำกล้วยไม้ชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นไม้สวยงามประดับไว้หน้าบ้านที่ จังหวัดภูเก็ต ทางคุณพัชรินทร์ กล่าวว่า ตอนเริ่มแรกก็มีอยู่แค่ 2-3 ต้น จนเวลาผ่านไปประมาณ 1 ปี มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกระทั้งเกิดปัญหา ใบไหม้บวมน้ำและเกิดอาการเน่าที่โคนใบ ช่วงแรกคิดว่าใบไหม้เพราะโดนแสงแดดเผา จึงได้นำไปไว้ใต้ร่มไม้ที่มีแสงส่องรำไร แต่ผลปรากฏว่าเกิดอาการบวมน้ำและเน่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งในหนังสือ วารสาร นิตยสาร และสื่อทางอินเทอร์เน็ต จนได้รู้จักกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ และได้มีการติดต่อสอบถามเพื่อเล่าปัญหาดังกล่าวให้ทางชมรมฯฟัง จนได้พบบทสรุปว่า กล้วยไม้เป็น " โรคเน่าดำ ( BLACK ROT ) " ซึ่งเกิดจากเชื้อรา phytophthora palmivora butl . ( เริ่ม แรกใบมีจุดสีน้ำตาลแฉะ จะเปลี่ยนเป็นสีดำในที่สุด โคนต้นเน่า รากเน่า ดอกเน่า อาจเกิดจากสภาพอากาศชื้นสูงหรือฝนตกหนักอากาศเปลี่ยนฤดู ) นักวิชาการได้แนะนำให้ลองใช้ บีเอส พลายแก้ว ( บาซิลลัส ซับธิลิส เป็นจุลินทรีย์ สายพันธุ์ไทยที่เป็นปฏิปักษ์ในกลุ่มบัคเตรีที่ได้คัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพ สูงในเรื่องการป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่าของทุเรียน แม้กระทั่งหน้ายางเน่าหรือหน้ายางตาย )

คุณพัชรินทร์ กล่าวต่อไปว่า เธอได้นำเอาผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว 1 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ1สัปดาห์ ในการฉีดพ่นแต่ละครั้งจะใช้ม้อยเจอร์แพล้น ( สารจับใบ ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าทำลายเชื้อโรคของผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว มากยิ่งขึ้น ) ผสมด้วยทุกครั้ง ในอัตราส่วน ม้อยเจอร์แพล้น 1 หยด (1ซีซี ) ต่อน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากันก่อนผสมผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว แล้วทำการคนผสมให้เข้ากันใหม่อีกครั้งก่อนทำการฉีดพ่น* หากเกษตรกรท่านใดต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนการผลิตควรใช้วิธี หมักเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้ ก่อนจะผสมน้ำฉีดพ่น ( สามารถขอเอกสารเกี่ยวกับวิธีหมักเชื้อจุลินทรีย์ได้จากชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 )

คุณพัชรินทร์ กล่าวต่อไป หลังจากทำการฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว ประมาณ 2 สัปดาห์ก็เริ่มสังเกตุพบว่าแผลที่โคนใบเริ่มแห้งอาการระบาดเริ่มลดลงเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัด ( ก่อนจะใช้ผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว หรือสารสกัดสมุนไพรชนิดใดก็ตาม ควรมีการตัดชิ้นส่วนของพืชที่พบว่าการระบาดของโรคออกทิ้งหรือเผาทำลายเสีย ก่อนทุกครั้ง ) นอกจากใช้ผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว ในการกำจัดโรคที่เกิดจากเข้าทำลายของเชื้อราแล้ว ยังนำแพล้นเซฟ MT(สารสกัด จากรากต้นหนอนตายหยาก+หัวกลอยสด+ใบขี้เหล็กป่า+น้ำมันสนกลั่น+น้ำมันตะไคร้ หอม ) มาผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อไล่กำจัดหนอนแมลงศัตรูกล้วยไม้อีกทางหนึ่ง ในการฉีดพ่นสารสกัดชนิดนี้ควรผสมในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันก่อนทำการฉีดพ่นหรือสเปรย์ ( ในการฉีดพ่นควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและไต้ใบ )* ในการฉีดพ่นผงจุลินทรีย์หรือสารสกัดสมุนไพรก็ดีควรกระทำในช่วงตอนเย็นแดด อ่อนๆ เพราะแมลงส่วนใหญ่จะเข้าทำลายพืชในช่วงกลางคืนมากกว่าช่วงกลางวัน หากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณพัชรินทร์ โกยเกียรติกุล (087-4187412) หรือเลขที่ 61/38 ซ.ธารทอง ถ.พัฒนาท้องถิ่น ม.1 ต.วิชิต อ.เมือง จ. ภูเก็ต 83000 หรือติดต่อผ่านทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 ,081-3983128

เขียนและรายงาน นายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ป้ายกำกับ: , , ,

ฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่าป้องกันอาการใบเน่าของกล้วยไม้ที่เมืองพระยารัษฎา





คุณวีรชัย เกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดตรังที่พลิกผันตัวเองมาทำธุรกิจเกี่ยวกับการเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อการค้า โดยคาดหวังว่าในปี พ.ศ. 2552 ตลาดไม้ดอกไม้ประดับยังคงไปได้เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าเกษตรชนิดอื่น คุณวีรชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นทำการทดลองเลี้ยงและขยายพันธุ์ ตามความต้องการของตลาด โดยตั้งเป้าการผลิตเบื้องต้นไว้ที่ตลาดในจังหวัดตรังและขยายสู่ตลาด กลางกรุงเทพฯต่อไป


ใน ขณะที่เพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้เพื่อส่งจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในท้องถิ่น(ตรัง) จนกระทั้งเจอกับปัญหาใบเน่าในกล้วยไม้ที่กำลังเพาะขยายอยู่และได้โทรปรึกษา กับเพื่อนซึ่งขณะนั้นขายไม้ดอกไม้ประดับและกลุ่มวัสดุการเกษตร ( กระถาง วัสดุปลูก ปุ๋ย )อยู่ที่ตลาดสนามหลวง 2 ( ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา )โดยเบื้องต้นคุณวีรชัยได้เล่าอาการให้เพื่อนฟังความว่า "จะเกิดอาการเน่าที่ส่วนของราก ยอด ใบอ่อนทำให้ใบเหลือง และมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อจับจะหลุดติดมือจากนั้นจะแห้งตายไปในที่สุด" อาการข้างต้นสันนิษฐานว่าเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืชที่ชื่อว่า Phytophthora palmivora. ซึ่ง เชื้อโรคชนิดนี้สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น โรคชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง

จนได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้ลองใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp.) เป็น จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มเชื้อราที่คัดเลือกจากธรรมชาติว่ามีประสิทธิภาพ สูง ในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา อย่างเช่น รากเน่าโคนเน่า ใบเน่า ผลเน่า เป็นต้น ฉีดพ่นกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคเน่าหรือยอดเน่าในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันในกรณีระบาดรุนแรง สำหรับกรณีที่ยังไม่มีการระบาดของโรคพืชก็สามารถฉีดพ่นเพื่อป้องกันหรือ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นกล้วยไม้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจฉีดพ่นทุก ๆ 15 วันสลับกับปุ๋ยกับบำรุงต้นหรือธาตุอาหาร เช่น ซิลิโคเทรซ และไคโตซาน MT อัตราตามฉลากข้างขวด โดยใช้เทคนิคอย่างง่าย ๆ ก่อนทำการฉีดพ่นเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ดังที่กล่าวข้างล่างนี้

1.ให้คัดแยกต้นกล้วยไม้ที่เป็นโรคออกจากพื้นที่ที่ยังไม่มีการระบาดของโรคเสียก่อน

2.ตรวจดูบริเวณแผล จุดที่มีถูกทำลายจากโรคพืชว่าระบาดขั้นรุนแรงหรือไม่

3.ใช้ มีดคม บาง ปลายแหลม ตัดเฉือนเอาเนื้อเยื่อส่วนที่ถูกทำลายจากโรคพืชทิ้งหรือเผาทำลายนอกแปลง กรณีที่เฉือนเป็นแผลใหญ่ให้ใช้ผงเชื้อไตรโคเดอร์มาผสมน้ำแบบเข้มข้นป้าย บริเวณแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อซึ่งเป็นวิธีรักษาอีกประการหนึ่ง

คุณวีรชัย กล่าวว่าหลังจากทดลองฉีดพ่นประมาณ 3 ครั้ง พบว่า ส่วนรากและใบกล้วยไม้ที่มีอาการน้ำไหลเยิ้มเริ่มแห้ง กล้วยไม้เริ่มมีการแตกหน่อใหม่และสร้างใบใหม่ ฉะนั้นจำเป็นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นซิลิโคเทรซ บำรุงต้นให้พืชมีการสะสมอาหารสำหรับการสร้างตาดอก ผลิดอกต่อไป สำหรับเกษตรกรที่สนใจอยากทราบรายละเอียดสามารถติดต่อ คุณวีรชัย สิริประภานุกุล เลขที่ 44 ถ.บ้านโพธิ์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร. 089 – 2115151 หรือติดต่อผ่านชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02 – 9861680 – 2 , 081-3983128 Email : thaigreenagro@gmail.com

เขียนและรายงานโดยเอกรินทร์ ช่วยชู ตำแหน่งนักวิชาการ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ป้ายกำกับ: , , , , ,