ทรฟื

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

มหาเสน่ห์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma spp.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ ว่านดอกทอง
ลักษณะทั่วไป ลักษณะเป็นว่านมีหัว รากเป็นเส้นใหญ่ไม่แตกรากฝอย ลำต้นและใบเหมือนขมิ้น ลำต้นประกอบด้วยกาบของก้านใบหลายกาบซ้อนกัน ใบรูปใบพาย ปลายใบแหลมโคนใบมนสอบติดก้านใบ พื้นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีแดงเข้มหรือแดงเลือดหมู ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นเหนือดินสีแดงเข้มเช่นกัน ลำต้นส่วนที่ฝังอยู่ในดินและหัวเป็นสีขาวหรือขาวอมเขียว รากเป็นสีน้ำตาล ช่อดอกเป็นกาบเรียวซ้อนสับขวางกันหลายๆ กาบ กาบใบแต่ละกาบมีดอกสีเหลืองทองขนาดเล็ก กลิ่นหอมเย็น
การปลูก ควรปลูกว่านด้วยดินปนทรายรดน้ำมากๆ แต่ระวังอย่าให้ดินแฉะ ควรจัดวางให้ได้รับแสงแดดรำไรบ้างพอสมควร
การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล สรรพคุณ ใช้ทางเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้ปลูก แต่ไม่นิยมให้มีดอกติดต้นถึงบาน มักจะเก็บดอกเสียก่อนก่อนที่ดอกจะบาน เพราะเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้กลิ่นดอกว่านต้นนี้แล้วกามราคะในจิตจะกำเริบ รุนแรงโดยเฉพาะสตรีเพศ จึงมีชื่อเรียกว่านต้นนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ว่านดอกทอง ดอกของว่านคนหนุ่มสมัยโบราณจึงเสาะแสวงหาเก็บสะสมไว้หุงกับน้ำมันจันทน์ หรือบดรวมกับสีผึ้งสีปาก ใช้น้ำมันทาตัว หรือใช้สีผึ้งสีปาก เมื่อถึงคราวจะต้องไปพบหญิงสาว สตรีใดต่อคารมด้วย พอได้กลิ่นว่านในน้ำมันหรือสีผึ้ง มักใจอ่อนคล้อยตามได้ง่ายนับเป็นว่านที่เป็นเสน่ห์มหานิยมที่รุนแรงมาก

ป้ายกำกับ: , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก