ทรฟื

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่าป้องกันอาการใบเน่าของกล้วยไม้ที่เมืองพระยารัษฎา





คุณวีรชัย เกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดตรังที่พลิกผันตัวเองมาทำธุรกิจเกี่ยวกับการเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อการค้า โดยคาดหวังว่าในปี พ.ศ. 2552 ตลาดไม้ดอกไม้ประดับยังคงไปได้เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าเกษตรชนิดอื่น คุณวีรชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นทำการทดลองเลี้ยงและขยายพันธุ์ ตามความต้องการของตลาด โดยตั้งเป้าการผลิตเบื้องต้นไว้ที่ตลาดในจังหวัดตรังและขยายสู่ตลาด กลางกรุงเทพฯต่อไป


ใน ขณะที่เพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้เพื่อส่งจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในท้องถิ่น(ตรัง) จนกระทั้งเจอกับปัญหาใบเน่าในกล้วยไม้ที่กำลังเพาะขยายอยู่และได้โทรปรึกษา กับเพื่อนซึ่งขณะนั้นขายไม้ดอกไม้ประดับและกลุ่มวัสดุการเกษตร ( กระถาง วัสดุปลูก ปุ๋ย )อยู่ที่ตลาดสนามหลวง 2 ( ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา )โดยเบื้องต้นคุณวีรชัยได้เล่าอาการให้เพื่อนฟังความว่า "จะเกิดอาการเน่าที่ส่วนของราก ยอด ใบอ่อนทำให้ใบเหลือง และมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อจับจะหลุดติดมือจากนั้นจะแห้งตายไปในที่สุด" อาการข้างต้นสันนิษฐานว่าเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืชที่ชื่อว่า Phytophthora palmivora. ซึ่ง เชื้อโรคชนิดนี้สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น โรคชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง

จนได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้ลองใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp.) เป็น จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มเชื้อราที่คัดเลือกจากธรรมชาติว่ามีประสิทธิภาพ สูง ในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา อย่างเช่น รากเน่าโคนเน่า ใบเน่า ผลเน่า เป็นต้น ฉีดพ่นกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคเน่าหรือยอดเน่าในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันในกรณีระบาดรุนแรง สำหรับกรณีที่ยังไม่มีการระบาดของโรคพืชก็สามารถฉีดพ่นเพื่อป้องกันหรือ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นกล้วยไม้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาจฉีดพ่นทุก ๆ 15 วันสลับกับปุ๋ยกับบำรุงต้นหรือธาตุอาหาร เช่น ซิลิโคเทรซ และไคโตซาน MT อัตราตามฉลากข้างขวด โดยใช้เทคนิคอย่างง่าย ๆ ก่อนทำการฉีดพ่นเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ดังที่กล่าวข้างล่างนี้

1.ให้คัดแยกต้นกล้วยไม้ที่เป็นโรคออกจากพื้นที่ที่ยังไม่มีการระบาดของโรคเสียก่อน

2.ตรวจดูบริเวณแผล จุดที่มีถูกทำลายจากโรคพืชว่าระบาดขั้นรุนแรงหรือไม่

3.ใช้ มีดคม บาง ปลายแหลม ตัดเฉือนเอาเนื้อเยื่อส่วนที่ถูกทำลายจากโรคพืชทิ้งหรือเผาทำลายนอกแปลง กรณีที่เฉือนเป็นแผลใหญ่ให้ใช้ผงเชื้อไตรโคเดอร์มาผสมน้ำแบบเข้มข้นป้าย บริเวณแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อซึ่งเป็นวิธีรักษาอีกประการหนึ่ง

คุณวีรชัย กล่าวว่าหลังจากทดลองฉีดพ่นประมาณ 3 ครั้ง พบว่า ส่วนรากและใบกล้วยไม้ที่มีอาการน้ำไหลเยิ้มเริ่มแห้ง กล้วยไม้เริ่มมีการแตกหน่อใหม่และสร้างใบใหม่ ฉะนั้นจำเป็นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นซิลิโคเทรซ บำรุงต้นให้พืชมีการสะสมอาหารสำหรับการสร้างตาดอก ผลิดอกต่อไป สำหรับเกษตรกรที่สนใจอยากทราบรายละเอียดสามารถติดต่อ คุณวีรชัย สิริประภานุกุล เลขที่ 44 ถ.บ้านโพธิ์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร. 089 – 2115151 หรือติดต่อผ่านชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02 – 9861680 – 2 , 081-3983128 Email : thaigreenagro@gmail.com

เขียนและรายงานโดยเอกรินทร์ ช่วยชู ตำแหน่งนักวิชาการ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ป้ายกำกับ: , , , , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก