ทรฟื

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

จุลินทรีย์ปราบรากล้วยไม้ "สกุลช้าง" ที่ภูเก็ต





ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับกล้วยไม้กันก่อน กล้วยไม้เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีมากกว่า 800 สกุล และ 25,000 สปีชีส์ กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledoneae) อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่ 1) กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น 2) กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรียวัตถุ


นอก จากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ ที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น กล้วยไม้สกุลช้าง (Rhynchostylis spp.) ซึ่งสามารถจำแนกได้ 4 ชนิด 1) ช้าง (ช้างเผือก ,ช้างแดง ,ช้างกระ ,ช้างพลาย ,ช้างประหลาด ,ช้างการ์ตูน ) 2) เขาแกะ 3)ไอยเรศ หรือ งวงช้าง 4) Rhy. rosae พบทางประเทศมาเลเซีย ส่วนคนไทยจะอาจเรียกว่า (ไอยเรศมาเลย์) จุดเด่นของกล้วยไม้กลุ่มนี้คือให้ดอกเป็นช่อพวงยาวระย้าและมีกลิ่นหอมอ่อน อายุดอกนานประมาณ 1 เดือนก่อนเหี่ยวเฉา และร่วงหรือติดผล (บางชนิดพันธุ์ เช่น ไอยเรศ หรืองวงช้าง)

ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงทำให้ คุณพัชรินทร์ โกยเกียรติกุล ( 087- 4187412 ) ได้ตัดสินใจนำกล้วยไม้ชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นไม้สวยงามประดับไว้หน้าบ้านที่ จังหวัดภูเก็ต ทางคุณพัชรินทร์ กล่าวว่า ตอนเริ่มแรกก็มีอยู่แค่ 2-3 ต้น จนเวลาผ่านไปประมาณ 1 ปี มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกระทั้งเกิดปัญหา ใบไหม้บวมน้ำและเกิดอาการเน่าที่โคนใบ ช่วงแรกคิดว่าใบไหม้เพราะโดนแสงแดดเผา จึงได้นำไปไว้ใต้ร่มไม้ที่มีแสงส่องรำไร แต่ผลปรากฏว่าเกิดอาการบวมน้ำและเน่าเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งในหนังสือ วารสาร นิตยสาร และสื่อทางอินเทอร์เน็ต จนได้รู้จักกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ และได้มีการติดต่อสอบถามเพื่อเล่าปัญหาดังกล่าวให้ทางชมรมฯฟัง จนได้พบบทสรุปว่า กล้วยไม้เป็น " โรคเน่าดำ ( BLACK ROT ) " ซึ่งเกิดจากเชื้อรา phytophthora palmivora butl . ( เริ่ม แรกใบมีจุดสีน้ำตาลแฉะ จะเปลี่ยนเป็นสีดำในที่สุด โคนต้นเน่า รากเน่า ดอกเน่า อาจเกิดจากสภาพอากาศชื้นสูงหรือฝนตกหนักอากาศเปลี่ยนฤดู ) นักวิชาการได้แนะนำให้ลองใช้ บีเอส พลายแก้ว ( บาซิลลัส ซับธิลิส เป็นจุลินทรีย์ สายพันธุ์ไทยที่เป็นปฏิปักษ์ในกลุ่มบัคเตรีที่ได้คัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพ สูงในเรื่องการป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่าของทุเรียน แม้กระทั่งหน้ายางเน่าหรือหน้ายางตาย )

คุณพัชรินทร์ กล่าวต่อไปว่า เธอได้นำเอาผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว 1 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ1สัปดาห์ ในการฉีดพ่นแต่ละครั้งจะใช้ม้อยเจอร์แพล้น ( สารจับใบ ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าทำลายเชื้อโรคของผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว มากยิ่งขึ้น ) ผสมด้วยทุกครั้ง ในอัตราส่วน ม้อยเจอร์แพล้น 1 หยด (1ซีซี ) ต่อน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากันก่อนผสมผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว แล้วทำการคนผสมให้เข้ากันใหม่อีกครั้งก่อนทำการฉีดพ่น* หากเกษตรกรท่านใดต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนการผลิตควรใช้วิธี หมักเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้ ก่อนจะผสมน้ำฉีดพ่น ( สามารถขอเอกสารเกี่ยวกับวิธีหมักเชื้อจุลินทรีย์ได้จากชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 )

คุณพัชรินทร์ กล่าวต่อไป หลังจากทำการฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว ประมาณ 2 สัปดาห์ก็เริ่มสังเกตุพบว่าแผลที่โคนใบเริ่มแห้งอาการระบาดเริ่มลดลงเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัด ( ก่อนจะใช้ผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว หรือสารสกัดสมุนไพรชนิดใดก็ตาม ควรมีการตัดชิ้นส่วนของพืชที่พบว่าการระบาดของโรคออกทิ้งหรือเผาทำลายเสีย ก่อนทุกครั้ง ) นอกจากใช้ผงจุลินทรีย์ บีเอส พลายแก้ว ในการกำจัดโรคที่เกิดจากเข้าทำลายของเชื้อราแล้ว ยังนำแพล้นเซฟ MT(สารสกัด จากรากต้นหนอนตายหยาก+หัวกลอยสด+ใบขี้เหล็กป่า+น้ำมันสนกลั่น+น้ำมันตะไคร้ หอม ) มาผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อไล่กำจัดหนอนแมลงศัตรูกล้วยไม้อีกทางหนึ่ง ในการฉีดพ่นสารสกัดชนิดนี้ควรผสมในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันก่อนทำการฉีดพ่นหรือสเปรย์ ( ในการฉีดพ่นควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและไต้ใบ )* ในการฉีดพ่นผงจุลินทรีย์หรือสารสกัดสมุนไพรก็ดีควรกระทำในช่วงตอนเย็นแดด อ่อนๆ เพราะแมลงส่วนใหญ่จะเข้าทำลายพืชในช่วงกลางคืนมากกว่าช่วงกลางวัน หากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณพัชรินทร์ โกยเกียรติกุล (087-4187412) หรือเลขที่ 61/38 ซ.ธารทอง ถ.พัฒนาท้องถิ่น ม.1 ต.วิชิต อ.เมือง จ. ภูเก็ต 83000 หรือติดต่อผ่านทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 ,081-3983128

เขียนและรายงาน นายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการ

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ป้ายกำกับ: , , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก