ทรฟื

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

เจาะแผนส่งออก"กล้วยไม้ไทย" วาดฝันปีครองแชมป์ตลาดโลก

ท่าม กลางภาวะราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำแต่สำหรับกล้วยไม้ พืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของไทยกลับไม่มีปัญหา เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศนั้น กล้วยไม้ไทยได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าอยู่ในระดับต้นๆ


ส่ง ผลให้ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่มี มูลค่าการส่งออกนับพันล้านบาทในแต่ละปีด้วยเหตุนี้เองทำให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญได้ดำเนินงานโครงการผลักดันการส่งออกกล้วยไม้ ในปี2551 และคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าหรือปี 2555 ประเทศไทยจะสามารถส่งออกกล้วยไม้ได้มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันจะยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตกล้วยไม้เขตร้อนของ โลกและให้กล้วยไม้ไทยเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยว

"ในปี 2551 คาดว่าพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 21,757 ไร่ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกดอกกล้วยไม้และต้นกล้วยไม้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เอื้อ เช่น จีนซึ่งเป็นตลาดกล้วยไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย หรือประเทศที่เป็นตลาดใหม่ อย่างอินเดีย และ ประเทศในยุโรปตะวันตกก็เริ่มมีความต้องการกล้วยไม้มากขึ้นตามลำดับ" สมชายชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรพูดถึงสถานการณ์ตลาดกล้วยไม้ไทยในต่างแดน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตกล้วยไม้ให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก จึงได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยพืชสวนจัดทำระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับ กล้วยไม้เพื่อรับรองแปลงเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแผนการควบคุมการผลิตกล้วยไม้ ให้ผลิตกล้วยไม้ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่น่าพอใจของคู่ค้าและผู้ บริโภค ขณะเดียวกันสามารถผลิตกล้วยไม้ที่ตรงตามพันธุ์ มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนดและปลอดศัตรูพืช โดยผู้ที่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระบบ GAP แล้ว กรมวิชาการเกษตรจะมอบเครื่องหมายสัญลักษณ์ Q ให้

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่มีค่าสามารถทำรายได้จากการส่งออกไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และสามารถส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก ในอนาคตคาดว่าอีกประมาณ 3-4 ปี จะสามารถทำรายได้ถึง 1 หมื่นล้านบาท โดยส่งออกในรูปแบบของไม้ตัดดอกไม้ต้น ไม้ขวด ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากดอกกล้วยไม้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเผย

ที่ผ่านมาสถาบันวิจัยพืชสวนได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการและเกษตรกรที่มีโรงเรือนกล้วยไม้ให้เข้ามาขอจดทะเบียนGAP ล่าสุดมีเกษตรกรให้ความสนใจยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้วกว่า100 ราย และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสอดรับกับมุมมอง สุชาติวิจิตรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพืชสวนยอมรับว่า สถาบันวิจัยพืชสวนในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานนโยบายกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องซึ่งขณะนี้ได้เร่งดำเนินการศึกษาและวิจัยแก้ไขปัญหาที่เป็น อุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการขนส่ง เพื่อให้สะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งเพื่อผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้พัฒนากล้วยไม้พื้นถิ่นที่มีศักยภาพทางการค้ากล้วยไม้ต้นที่สำคัญ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลซิมบิเดีย สกุลสปาโทกลอททิส และสกุลฮาบินาเรีย จนสามารถเปิดตลาดกล้วยไม้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ส่วนผู้ประกอบธุรกิจส่งออกกล้วยไม้"พันธพัฒน์คุ้มวิเชียร" ในฐานะผู้จัดการสวนกล้วยไม้แอร์ออคิด& แลบ มองว่าปัญหาการส่งออกกล้วยไม้ไทยขณะนี้ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ ไม่ดี ทำให้การส่งออกกล้วยไม้มีปัญหาตามไปด้วย โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ำมันที่เป็นตัวแปรหลักในการส่งออก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลประกันราคากล้วยไม้และเร่งทำโรดโชว์ในต่าง ประเทศบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยในการขยายตลาดเพิ่มขึ้น จะได้ไม่จำกัดอยู่แค่ตลาดอเมริกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่นและยุโรปไม่กี่ประเทศ

"ปัจจัย อีกตัวที่ธุรกิจส่งออกกล้วยไม้บ้านเรามีปัญหา เพราะการรวมตัวของผู้ปลูกกล้วยไม้ไทยยังไม่เข้มแข็งพอ ดำเนินกิจการในลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้อำนาจการต่อรองมีน้อย ขณะเดียวกันภาครัฐก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญสักเท่าไรเมื่อเทียบกับพืช เศรษฐกิจตัวอื่น" ผู้จัดการสวนกล้วยไม้แอร์ออคิด & แลบ กล่าวย้ำกล้วยไม้นับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวของประเทศที่ควรได้รับการส่งเสริม ภาครัฐอย่างจริงจัง เพราะเป็นพืชตัวเดียวในขณะนี้ก็ว่าได้ที่ไม่มีปัญหาในเรื่องราคา แต่กลับไม่มีตลาดรองรับอย่างเพียงพอ

แนะวิธีดูแลกล้วยไม้ปลอดโรค

ชมพูนุท จรรยาเพศ นักสัตววิทยา8 สำนักวิจัยพัฒนาอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรแนะนำเกษตรกรควรให้ความสนใจและดูแลสวนกล้วยไม้ให้ปลอดจาก เชื้อรา แบคทีเรีย และหอยทาก โดยระบุว่าเนื่องจากสวนกล้วยไม้ส่วนใหญ่มีความชื้นสูง มักพบหอยทากบกเข้าทำลายตาและหน่อดอกหรือใบ ถึงแม้ว่าความเสียหายจะไม่มากนัก แต่ถ้าไม่มีการจัดการใดๆ ประชากรหอยจะเพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้หอยยังปล่อยเมือกไว้เป็นแนวตามทางเดินอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อ ราซ้ำได้ และประการสำคัญคือการที่หอยปะปนไปกับกล้วยไม้ที่ส่งไปต่างประเทศ เป็นสาเหตุให้ถูกเผาทำลาย นอกเหนือจากการต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลแล้ว ยังทำให้ไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง

"จะ เห็นได้ว่าหอยทากเป็นศัตรูของกล้วยไม้อีกประเภทหนึ่งที่เกษตรกรจะต้องกำจัด ให้สิ้นซาก หากเกษตรกรไม่ให้ความสนใจดูแลก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกล้วยไม้ของไทย และจะเป็นผลเสียต่อชื่อเสียงของไทยในอนาคตด้วย ซึ่งเท่าที่ผ่านมาประเทศคู่ค้ามักพบหอยทากติดไปกับกล้วยไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย และถูกขึ้นบัญชีดำ ทำให้การส่งออกกล้วยไม้ไทยได้รับผลกระทบตามมาอีกด้วย" เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าวทิ้งท้าย

สุรัตน์ อัตตะ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก วันที่ 27 ตุลาคม 2551

http://www.komchadluek.net/2008/10/27/x_agi_b001_227538.php?news_id=227538

ป้ายกำกับ: , , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก