ทรฟื

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

กล้วยไม้ปลอดโรคใบด่าง ใช้เซรุ่มช่วยช่วงเพาะเนื้อเยื่อ

โรคใบด่างในกล้วยไม้สกุลหวาย เกิดจากเชื้อไวรัส cymbidium mosaic virus (CyMV) ทั่วไปมักพบใบแสดงอาการด่าง มีแผลไหม้ อาการจุดช้ำน้ำ หรือจุดด่างสีเหลือง


ลักษณะ ยอดบิด ลำต้นแคระแกร็น ดอกมีขนาดเล็ก ไม่สมบูรณ์ กลีบดอกบิดเบี้ยว สีซีดด่าง ช่อดอกสั้น คุณภาพไม่ได้มาตรฐานการส่งออกและผลผลิตลดลง

ต้น กล้วยไม้ที่เป็นโรคหากยังไม่แสดงอาการ เมื่อดูด้วยตาเปล่าไม่แตกต่างจากต้นปกติ จึงแยกต้นที่เป็นโรคกับ ต้นปกติได้ไม่ชัดเจน การขยายพันธุ์อาจ จะเกิดโรคติดต่อ... กลายเป็นอุปสรรคกับวงการไม้ตัดดอกเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ...!!

ทีมงานวิจัยจากภาค วิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย อาจารย์ ศิริวรรณ บุรีคำ อาจารย์ รัชนี ฮงประยูร อาจารย์ รงรอง หอมหวล อาจารย์ มณฑา วงศ์มณีโรจน์ อาจารย์ สุวรรณา กลัดพันธุ์ และ ผศ.จิตราพรรณ พิลึก ได้ดำเนินโครงการ ผลิตต้นพันธุ์ กล้วยไม้สกุลหวายให้ปลอดโรคใบด่างจากเชื้อ CyMV โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการพัฒนาเทคนิคการตรวจโรคด้วยวิธีทางเซรุ่มวิทยา

ผศ.จิตราพรรณ พิลึก บอกว่า คณะผู้วิจัยได้ศึกษาหาวิธีการผลิตต้นพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium spp.) ให้ปลอดจากเชื้อไวรัส CyMV โดยการเพาะเนื้อเยื่อเจริญ รวมทั้งการพัฒนาเทคนิคในการตรวจสอบเชื้อไวรัส ที่มี ประสิทธิภาพควบคู่กันไปด้วย จากผลการทดลองนำเนื้อเยื่อเจริญที่มีขนาดประมาณ 0.2-0.3 มิลลิเมตร จากส่วนปลายยอดของหน่ออ่อนจากต้นกล้วยไม้สกุลหวาย สายพันธุ์โซเนีย(บอม17) มาเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ

ผลปรากฏว่า... สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เนื้อเยื่อเจริญของกล้วยไม้ สามารถพัฒนาเป็น โปรโตคอร์ม ได้ดีนั้น ได้แก่สูตร VW (Vacin&Went, 1949) และสูตร VW ที่เติม NAA ความเข้มข้น 0.1-1.0 มิลลิเมตรต่อลิตร โดยเนื้อเยื่อเจริญจะพัฒนาเป็น โปรโตคอร์ม ขนาดประมาณ 0.3-0.8 เซนติเมตร ได้ภายใน 6 สัปดาห์ อัตราร้อยละ 20 ของเนื้อเยื่อทั้งหมดและสามารถพัฒนาเป็นลำต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ดอกต่อไปได้ภายใน 3 เดือน

เมื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจเชื้อไวรัสด้วยวิธี indirect ELISA (enzyme-linked immunosorbent assay) โดยใช้ โมโคลนอลแอนติบอดี ที่ผลิตได้ พบว่า โมโนโคลน ที่ผลิตจาก ทั้ง 2 โคลน สามารถทำปฏิกิริยาอย่างดีกับเชื้อไวรัส CyMV บริสุทธิ์ และ CyMV-CP กับน้ำคั้นจากใบกล้วยไม้หวายที่เป็นโรค โดยไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อไวรัส ORSV-CP และพืชปกติ

นอกจากนี้ โมโนโคลนอลแอนติบอดี ที่ผลิตได้ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจเชื้อไวรัสได้ดีกว่า โพลีโคลนอลแอนติบอดี อีกด้วย และสามารถตรวจคัดเลือกต้นพันธุ์กล้วยไม้ที่ปลอดเชื้อได้ในอัตราร้อยละ19.4 ของจำนวน เนื้อเยื่อเจริญที่นำมาเพาะเลี้ยงทั้งหมด

และเมื่อนำมาเพิ่มปริมาณและชักนำให้เกิดต้น ก็สามารถผลิตต้นพันธุ์กล้วยไม้ที่ไม่มีเชื้อไวรัสได้ภายในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น เป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล

งานวิจัยนี้ถือว่าเสร็จออกมาได้ทันท่วงที ก่อนมีการปิดฉาก...อวสานกล้วยไม้ไทย..!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 กันยายน 2551

http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=105800

ป้ายกำกับ: , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก